ภาพรวม

เชิญมาสำรวจดูว่าศิลปะกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้งในย่าน Chinatown (ไชน่าทาวน์) ได้อย่างไร รวมทั้งร้านอาหารที่น่าสนใจและบูติคที่มีเอกลักษณ์ คุณจะมีโอกาสได้ถ่ายภาพสวยๆ กับภาพวาดบนผนังที่คู่ควรกับการลง IG โดยเป็นภาพที่เล่าเรื่องราวในอดีตและปัจจุบันของสิงคโปร์

ใช้เวลาอย่างน้อยครึ่งวันเพื่อเที่ยวสำรวจย่านที่คึกคักจอแจนี้ และเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการชมงานศิลปะสวยๆ สถานที่สำคัญทางวัฒนธรรม และชิมอาหารอร่อยๆ

สถานที่ทั้งหมดล้วนอยู่ใกล้รถไฟฟ้า MRT สถานี Chinatown
Lantern Festival โดย Yip Yew Chong
ภาพจิตรกรรมฝาผนัง “Lantern Festival” โดย Yip Yew Chong

การเดินทางของคุณเริ่มต้นที่ด้านนอกสถานีรถไฟฟ้า MRT สถานี Chinatown จากทางออก A ให้ตรงไปตามตรอกเล็กๆ ใกล้กับป้ายจอดรถแท็กซี่ที่ Temple Street (ถนนเทมเพิล) และข้ามฝั่งจาก 1 Mei Heong Yuen Dessert

คุณต้องไม่พลาดภาพวาดบนผนังชิ้นนี้ที่มีสีสันสดใน โดยเกี่ยวกับงานเฉลิมฉลองในสิงคโปร์ใน เทศกาลไหว้พระจันทร์ ซึ่งเป็นการเฉลิมฉลองการเก็บเกี่ยวที่มักจะมีขึ้นในเดือนกันยายนถึงต้นเดือนตุลาคม ศิลปิน Yip Yew Chong เป็นสมาชิกที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งในการสร้างสรรค์ผลงานสตรีทอาร์ต ผลงานของเขามักเน้นเรื่องราวในอดีตและมรดกอันล้ำค่าทางวัฒนธรรมของสิงคโปร์

โคมไฟที่เป็นสัญลักษณ์และตึกแถวสวยๆ ในย่าน Chinatown
ตึกแถวริมถนน Pagoda Street ย่าน Chinatown

ไปต่อกันที่ 2 Pagoda Street เพื่อให้ได้รูปถ่ายที่สวยงามโดดเด่นใต้โคมไฟที่เป็นสัญลักษณ์ของย่าน Chinatown ตึกแถวที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์นี้เป็นจุดแวะพักที่คุณไม่ควรพลาด เพราะเต็มไปด้วยสีสันและเป็นงานสถาปัตยกรรมที่สะท้อนถึงวันคืนในอดีตของสิงคโปร์ในยุคแรกๆ

แม้ว่าบ้านเรือนเหล่านี้จะค่อนข้างเก่าแก่ แต่ก็แสดงถึงองค์ประกอบของการออกแบบที่มีเสน่ห์และมีความร่วมสมัย ไม่เชื่อคุณลองสังเกตที่ดอกไม้สีเหลืองสดใสที่วาดอยู่บนห้องแถวสีฟ้าสดหลังนั้นสิ

My Chinatown Home โดย Yip Yew Chong
ภาพจิตรกรรมฝาผนัง “My Chinatown Home” โดย Yip Yew Chong

เดินไปที่ 3 30 Smith Street และคุณจะพบเห็นตึกแถวเรียบๆ ในอดีตของสิงคโปร์อีกแห่งหนึ่ง ที่นี่เป็นจุดที่ผู้คนมักแวะถ่ายรูปที่ด้านหน้า โดยคุณสามารถแทรกตัวเข้าไปในซีนได้อย่างกลมกลืน

ภาพนี้สะท้อนอดีตของครอบครัวคนสิงคโปร์ โดยเป็นภาพในความทรงจำวัยเยาว์ของศิลปินผู้สร้างผลงาน ภาพนี้เป็นภาพภายในบ้านคนจีนรุ่นเก่า ที่เต็มไปด้วยความรักความอบอุ่น

ห่างออกไปสักนิด คุณจะเห็นภาพจิตรกรรมฝาผนังที่กลมกลืนกับสถานที่แห่งนี้ ซึ่งก็คือ Buddha Tooth Relic Temple & Museum (วัดพระเขี้ยวแก้วและพิพิธภัณฑ์) อันเป็นวัดที่งดงามอลังการด้วยงานสถาปัตยกรรมที่ได้รับอิทธิพลจากยุคราชวงศ์ถังของจีน

วัดแห่งนี้ยังมีการสอนการฝึกสมาธิและให้ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมประเพณีของศาสนาพุทธเป็นครั้งคราว จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่สนใจและศรัทธาในพุทธศาสนา

Letter Writer โดย Yip Yew Chong
ภาพจิตรกรรมฝาผนัง “Letter Writer” โดย Yip Yew Chong

ขณะที่คุณเดินผ่าน 4 North Bridge Centre คุณจะเห็นภาพคนเขียนตัวอักษรจีนอย่างขมักเขม้นอยู่ที่โต๊ะ ในมือถือพู่กันจีนและมีขวดหมึกวางอยู่ รวมทั้งกระดาษเขียนตัวอักษรจีนแขวนตากไว้ให้หมึกแห้ง

ภาพนี้ Yip Yew Chong วาดขึ้นจากประสบการณ์ที่เขาเคยไปเฝ้าดูคนเขียนอักษรจีนอย่างจริงจัง และวาดภาพนี้เพื่อสะท้อนฉากในอดีตที่มีส่วนสำคัญในการกำหนดความเป็นสิงคโปร์ในปัจจุบัน

คนเขียนตัวอักษรจีนในภาพจิตรกรรมฝาผนังนี้ เป็นสมาชิกที่สำคัญคนหนึ่งในชุมชนในประวัติศาสตร์ของสิงคโปร์ คนเหล่านี้ก็เป็นเหมือนตัวเขา (Yip Yew Chong) ที่เป็นคนกลางที่ช่วยในการสื่อสารระหว่างคนจีนอพยพในสิงคโปร์กับครอบครัวของพวกเขาที่อยู่ในเมืองจีน แม้ว่าการติดต่อสื่อสารในอดีตจะแตกต่างจากการเชื่อมต่อกันในโลกปัจจุบันอย่างมาก แต่ภาพนี้ก็อาจสร้างแรงบันดาลใจให้คุณนึกถึงเรื่องราวในอดีตของความสัมพันธ์อันลึกซึ้งระหว่างครอบครัวของคุณและบรรดาคนที่เรารัก

ภาพจิตรกรรมฝาผนัง Bruce Lee โดย School of Design
ภาพจิตรกรรมฝาผนัง “Bruce Lee” โดย School of Design

ภาพบรูซลีบนผนังของ 5 Chinatown Complex กำลังถือทุเรียนที่เป็นสัญลักษณ์

ภาพจิตรกรรมฝาผนังที่เต็มไปด้วยอารมณ์ขันนี้วาดโดยนักศึกษาสาขาการออกแบบ (School of Design) ที่ Temasek Polytechnic โดยช่วยเติมสีสันให้ย่านนี้และเชื่อมโยงกับวัฒนธรรมที่สำคัญของสิงคโปร์ ซึ่งรวมถึงทุเรียน ที่ได้รับฉายานามว่าเป็นราชาแห่งผลไม้ ในภาพยังมีภาพสัญลักษณ์อื่นๆ ของสิงคโปร์ เช่น มังกร กะหรี่พัฟ และแม้แต่ข้อความบนเสื้อยืดว่า “I love Singapore”

Hipster Murals โดย Ripple Root

ภาพจิตรกรรมฝาผนังแนวแอ็บสแทร็กท์บนถนน 6 ถนนเกียง เซก (Keong Saik Road) นี้เหมาะอย่างยิ่งสำหรับย่านนี้ที่เต็มไปด้วยคาเฟ่ที่ทันสมัยและเวิร์กกิ้งสเปซที่อยู่ใกล้ๆ กัน ผลงานชิ้นนี้สร้างขึ้นโดย Ripple Root ศิลปินคู่หูชาวสิงคโปร์ ที่มักสร้างสรรค์ผลงานจากแรงบันดาลใจเกี่ยวกับชีวิตสัตว์ป่าและธรรมชาติ

ภาพวาดเหล่านี้ของเขาได้แรงบันดาลใจมาจากแผ่นกระเบื้องที่มีลวดลายแบบเปอรานากัน* ซึ่งช่วยทำให้ผนังสีขาวๆ โดดเด่นด้วยสีสันสดใส หากคุณกำลังมองหาภาพเด่นของวันนี้ที่จะโพสต์ลงโซเชียล ภาพเหล่านี้ก็จัดว่าเป็นแบคกราวด์ที่ดีมาก

หลังจากถ่ายภาพเสร็จแล้ว คุณอาจแวะดื่มมิลค์เลคหรือชิมคัสตาร์ดเย็นๆ ดับกระหายที่ร้าน Shake Shack และลองชิมเบอร์เกอร์อร่อยๆ ที่นี่ดูก็ได้

*คำในภาษาอินโดนีเซีย/มาเลย์ที่แปลว่า "เกิดในท้องถิ่น" ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว หมายถึงชาวจีนเชื้อสายมลายู/อินโดนีเซีย

Botanical Mural โดย Ripple Root
ภาพจิตรกรรมฝาผนัง “Thian Hock Keng Temple” โดย Yip Yew Chong

7 Clan Cafe ที่อยู่ใกล้ๆ จัดแสดงผลงานอีกโปรเจ็กต์หนึ่งของ Ripple Root โดยเป็นภาพวาดบนผนังที่เกี่ยวกับพฤกษชาติ จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับร้านอาหารที่เน้นอาหารคลีนและร้านขายชาสมุนไพรในย่านนี้

ถ้าคุณสำรวจจนทั่วแล้ว ลองแวะชิมอาหารว่างหรืออาหารบรันช์ที่เป็นที่นิยมอย่าง เห็ดทรัฟเฟิลทอด และครัวซอง หรือคุณอาจจะแวะที่รูฟท็อปบาร์ใกล้ๆ ที่ Potato Head ซึ่งมีค็อกเทลและเครื่องดื่มเย็นๆ รวมทั้งเหมาะจะเป็นสถานที่แฮงก์เอาท์ในช่วงวันเสาร์-อาทิตย์

ภาพจิตกรรมฝาผนัง Thian Hock Keng Temple โดย Yip Yew Chong
ภาพจิตกรรมฝาผนัง Thian Hock Keng Temple โดย Yip Yew Chong

ที่กำแพงด้านหลังวัดนี้ คุณจะพบผลงานอีกชิ้นหนึ่งโดยฝีมือของ Yip Yew Chong ภาพจิตรกรรมฝาผนังความยาว 40 กิโลเมตรนี้สะท้อนชีวิตชาวจีนฮกเกี้ยนที่อพยพมาสิงคโปร์ในยุคแรกๆ (ชนเผ่าหนึ่งของจีนที่มาจากมณฑลฝูเจี้ยนทางใต้-ตะวันออกของจีน) และมีส่วนสำคัญในการสร้างสิงคโปร์สมัยใหม่

คุณควรใช้เวลาสักครู่ในการดื่มด่ำกับผลงานสถาปัตยกรรมแบบจีนที่ 8 Thian Hock Keng Temple (วัดเทียนฮกเก๋ง) วัดที่มีชื่อเสียง แห่งนี้สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1839 และไม่ได้ใช้ตะปูแม้แต่ตัวเดียวในการก่อสร้าง

ภายในวัด คุณจะพบเห็นศาลเจ้าและเทพเจ้า รวมไปถึงรูปเคารพจากลัทธิขงจื๊อ พระพุทธรูปในศาสนาพุทธ ลัทธิเต๋า และสถานที่เซ่นไหว้บรรพบุรุษ ที่นี่จึงเป็นสถานที่ที่เหมาะสำหรับผู้สนใจศึกษาลัทธิความเชื่อทางจิตวิญญาณต่างๆ ของจีน

Assorted Murals โดย Anglo Chinese Schools และ CENO2
ภาพจิตรกรรมฝาผนัง Samsui Woman ที่ Amoy Street

ถ้าคุณรู้สึกหิว คุณสามารถเดินเข้าไปที่ 9 Amoy Street Food Centre เพื่อลิ้มลอง อาหารริมทางอร่อยๆ ของสิงคโปร์ที่มีวางจำหน่ายในศูนย์อาหาร ก่อนที่จะเดินเที่ยวชมเพื่อค้นหาแรงบันดาลใจกันต่อ

ภาพวาดชุดนี้ในธีมหัวข้อ “Then & Now” (อดีตและปัจจุบัน) เป็นฝีมือของนักศึกษาและเจ้าหน้าที่จาก Anglo Chinese (ACS) Schools ของสิงคโปร์ ประวัติความเป็นมาของโรงเรียนเหล่านี้ร้อยเรียงกับย่าน Chinatown อย่างใก้ชิด โดยวิทยาเขตแห่งแรกของโรงเรียนนี้ตั้งขึ้นในย่านนี้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1886

หนึ่งในผลงานที่โดดเด่นที่คุณจะพบเห็นที่นี่คือภาพวาดบนผนังห้าชิ้นที่ปรากฏอยู่บนตึกแถว ACS เก่าแก่ นั่นคือภาพคนงานหญิงจากจีน หรือ Samsui ในอดีต ภาพพ่อค้าแม่ค้าที่ขายอาหารริมทางในอดีต และภาพอื่นๆ ที่สื่อถึงวันวานของสิงคโปร์

Old Trades โดย Yip Yew Chong
งานจิตรกรรมฝาผนัง ‘Old Trades’ โดย Yip Yew Chong

สิ้นสุดการผจญภัยครั้งนี้ที่ 10 Mohammed Ali Lane ที่คุณจะได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์จากอีกภาพหนึ่งที่สำคัญ นั่นคือ ภาพพ่อค้าขายของริมทางในในสมัยก่อนซึ่งเป็นยุคแรกๆ ที่สิงคโปร์ประกาศเอกราชในช่วงทศวรรษ 1960

หากต้องการเรียนรู้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับอดีตของสิงคโปร์ คุณควรสังเกตรายละเอียดของสินค้าดั้งเดิมเหล่านี้ใน Mamak Store (หาบเร่แผงลอย) เดินไปเพียงไม่กี่ก้าว คุณจะเห็นภาพคนขายหน้ากากและของเล่นต่างๆ ในขณะที่ผู้หญิง Samsui (คนงานผู้หญิงจีนอพยพที่มาจากเขต ซันซุย ของจีน โดยมีจุดสังเกตตรงที่พวกเธอมักใช้โพกศีรษะด้วยผ้าแดง) จ้องมองคุณมาจากผนังข้างทางเดิน

หากเดินเลียบมาตามถนนก็จะพบ Sri Mariamman Temple (วัดศรีมาริอัมมันต์) ซึ่งเป็นวัดฮินดูที่เก่าแก่ที่สุดของสิงคโปร์ คุณอาจจะแวะทำความรู้จักกับศาสนาที่เก่าแก่นับร้อยปีนี้ที่วัดนี้ ซึ่งมี โกปุรัม (ซุ้มทางเข้าที่วิจิตรงดงาม) ที่สวยงามอลังการและภายในมีศาลที่งดงามหลายจุด เหมาะสำหรับการถ่ายภาพเก็บไว้

สิ่งที่น่าสนใจอื่นๆ

สิ่งอื่นๆ

ที่น่าลอง