พบกับ
Malcolm

เชฟระดับมิชลินสตาร์

เขาเป็นหนึ่งในบรรดาเชฟชาวสิงคโปร์เพียงไม่กี่คนที่ได้มิชลินสตาร์ (โดยเขาครองตำแหน่งนี้มาตั้งแต่ปี 2016) Malcolm พยายามค้นหาวิธีการรังสรรค์รสชาติอาหารอร่อยๆ ที่เขาจดจำได้จากวัยเยาว์ เมื่อยังเด็ก Malcolm โตมากับกลิ่นเครื่องเทศจากอาหารเปอรานากันดั้งเดิมของคุณย่า ที่ส่งกลิ่นหอมโชยมาเสมอๆ

เมื่อ Malcolm พบว่าอาชีพการทำงานแบบนั่งโต๊ะไม่ใช่สิ่งที่เขาต้องการ เขาจึงเปลี่ยนความหลงใหลในอาหารที่มีมาตลอดชีวิต ให้กลายเป็นอาชีพในครัวแทน เขาได้รับทุนการศึกษาจาก Miele-Guide At-Sunrice และสำเร็จการศึกษาจาก At-Sunrice GlobalChef Academy จากนั้นก็เริ่มต้นการทำงานในฐานะพ่อครัวเล็กๆ จนมาสู่บทบาทหน้าที่ในปัจจุบัน นั่นคือเชฟเจ้าของร้านอาหารเปอรานากันอย่าง Candlenut

เชื่อมโยง
ผู้คน
ด้วยอาหาร

“มีสาเหตุที่ทำให้เราได้รับฉายาว่า “ครัวกองทัพ” นั่นก็เพราะเมื่อถึงเวลาให้บริการ ห้องครัวก็จะกลายเป็นสนามรบ” Malcolm เล่า “แต่ผมชอบเสียงหั่น-สับ กลิ่นไหม้ และมิตรภาพที่ดี” ไม่เพียงแค่ความตื่นเต้นในงานครัวเท่านั้นที่ผลักดันแพสชันของเขา แต่สำหรับ Malcolm แล้ว อาหารคือวิธีการสร้างความสัมพันธ์ที่แนบแน่นทั้งในหมู่เพื่อนๆ และกับคนแปลกหน้า “ผมเชื่อว่าแก่นแท้ของอาหารเปอรานากันคือผู้คน” เขากล่าว “อาหารปารานากันดั้งเดิมอาจต้องใช้เวลาเป็นสัปดาห์ในการจัดเตรียม อาหารคือความรัก และผมหวังว่าผู้คนจะรู้สึกเช่นนั้น"


อาณาเขตงานครัวของ Malcolm

แรงบันดาลใจในการทำอาหารของ Malcolm Lee ได้มาจากตลาดสดในท้องถิ่น ไปจนถึงย่านชานเมือง ดังนั้นเขาจึงอยากชวนคุณมาสัมผัสกับมุมมองของเชฟคนหนึ่งของสิงคโปร์

สถาปัตยกรรมเปอรานากันคือแรงบันดาลใจ

Malcolm ค้นพบแรงบันดาลใจในการทำอาหารของเขาจากงานสถาปัตยกรรมของเปอรานากันในย่าน Katong (กาตง) และ Joo Chiat (จู เชียต) “ผมชอบตึกแถวใน Katong และ Joo Chiat โดยเฉพาะความงดงามประณีตที่ปรากฏบนกำแพงและตามขั้นบันได ช่วยให้ผมเข้าใจว่าอาหารเปอรานากันควรเป็นอย่างไร"

สร้างสรรค์รสชาติใหม่ๆ จากอาหารต้นตำรับ

ในฐานะเชฟผู้สร้างสรรค์อาหารเปอรานากันสูตรใหม่ๆ Malcolm ทราบดีถึงกระแสต่อต้านอาหารของเขา “การทำอาหารเปอรานากันในสิงคโปร์เป็นเรื่องยากครับ” เขาหัวเราะ “เพราะคุณอาจรู้สึกเหมือนกับว่าตนเองตกเป็นเป้าโจมตี” อาหารเมนูต่างๆ ของ Candlenut เช่น ไอศครีมบวค กลูวะก์ (buah keluak) (ถั่วดำที่เป็นพืชท้องถิ่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) เป็นเครื่องพิสูจน์ว่ามัลคอล์มได้ก้าวผ่านข้อจำกัดของการปรุงอาหาร

รสชาติในวัยเยาว์

หากต้องการเข้าใจถึงอิทธิพลของวัฒนธรรมมาเลย์ที่มีต่ออาหารเปอรานากัน Malcolm แนะนำให้คุณไปเที่ยวที่ Geylang Serai Market (ตลาดเกลัง เซอไร) ศูนย์อาหาร (ฮอว์กเกอร์ เซ็นเตอร์) แห่งนี้ขายอาหารเมนูต่างๆ ที่เชฟผู้นี้เคยรับประทานสมัยยังเป็นเด็ก “อาหารเปอรานากันคล้ายกับอาหารมาเลย์มากๆ” ผมโตมากับการกินข้าวกับซัมบัล และที่นี่เป็นที่ทีผมจะได้ทานอาหารที่คล้ายๆ กับที่ผมเคยทาน"

ความสัมพันธ์ในตลาดสด

“อาหารเปอรานากันไม่ได้เป็นเพียงแค่อาหาร แต่ยังเป็นการสร้างสัมพันธ์ระหว่างผู้คน” ผู้ที่เชื่อว่าอาหารคือประตูแห่งการเชื่อมโยงมนุษย์เข้าด้วยกันอย่างมัลคอล์ม ยังคงไปเยี่ยมเยียนสถานที่โปรดของเขาอย่างตลาดเท็กกะ ซึ่งเขาสามารถสรรหาวัตถุดิบสำหรับเมนูอาหารทะเลที่สดใหม่ และผลผลิตในท้องถิ่นอื่นๆ ได้จากบรรดาพ่อค้าแม่ค้าที่ค้าขายที่นี่มานาน จนสนิทกับเขาเหมือนเพื่อน

Shophouses found along Joo Chiat

โปรแกรมเที่ยว 3 วันสำหรับนักชิม

ตามรอยเชฟ Malcolm Lee ผู้หลงใหลในอาหารและวัฒนธรรม เปอรานากัน ซึ่งจะพาคุณลัดเลาะไปทุกซอกมุมของสิงคโปร์

สิ่งอื่นๆ

ที่น่าลอง