ได้รับการจัดอันดับให้เป็น
คาดว่าจะสร้าง
เมื่อ 50 ปีก่อน พื้นที่ส่วนใหญ่ของสิงคโปร์ที่อยู่นอกเขตเมืองประกอบไปด้วยโคลนตมและบึงน้ำ ประชากรส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในสถานที่แออัดและสกปรกโดยไม่มีแหล่งน้ำสะอาด หลังจากนั้นสิงคโปร์ได้ดำเนินการปฏิรูปครั้งใหญ่และดึงเอาบรรดานักวางผังเมืองผู้เชี่ยวชาญจากประเทศและภูมิภาคต่างๆ เช่น จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อเมริกาใต้ และแอฟริกา ซึ่งมาเรียนรู้เกี่ยวกับการปกครองเมืองและการวางผังเมืองที่ดีสำหรับเมืองแห่งอนาคต
จากอาคารที่เน้นฟังก์ชันการใช้งานเพื่อตอบโจทย์การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรและเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันอาคารที่สร้างขึ้นใหม่ของสิงคโปร์ได้พัฒนาไปสู่การออกแบบโดยรวมที่เน้นการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างเช่น อาคาร SDE4 ของมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (National University of Singapore) ที่ปราศจากการปลดปล่อยคาร์บอน ขณะที่อาคารอื่นๆ เช่น Oasia Hotel Downtown มอบองค์ประกอบสีเขียวให้สิ่งแวดล้อมโดยมีสวนขนาดใหญ่บนชั้นดาดฟ้า รวมทั้งด้านหน้าอาคารที่กลายเป็นพื้นที่สีเขียว
หนึ่งในผลที่ตามมาจากการมีที่ดินจำกัดก็คือ การที่เราต้องพึ่งพาแหล่งอาหารจากภายนอก เพื่อเพิ่มการพึ่งพาตนเอง เราได้เริ่มพัฒนาการทำการเกษตรในเมืองในสิงคโปร์ขึ้น โดยใช้โซลูชันที่มีนวัตกรรม เช่น การเกษตรบนชั้นดาดฟ้าและบริเวณใต้สะพาน การเกษตรในร่มที่มีการควบคุมอุณหภูมิ และการเกษตรและเลี้ยงสัตว์แบบหลายชั้น
เพื่อสนับสนุนจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น เรายังได้พัฒนาระบบขนส่งมวลชนที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ สำหรับในอนาคต สิงคโปร์ได้วางแผนที่จะส่งเสริมระบบคมนาคมขนส่งระดับโลกโดยมีแผนแม่บทการขนส่งทางบก (Land Transport Master Plan) ปี 2040 ภายในปี 2040 ผู้โดยสารระบบขนส่งในสิงคโปร์สามารถคาดหมายที่จะไปถึงศูนย์ประจำพื้นที่ที่ใกล้ที่สุดได้ภายใน 20 นาที และเข้าไปในเมืองได้ภายใน 45 นาที นอกจากนี้ แผนการนี้ยังจัดให้มีการเดินทางโดยปราศจากอุปสรรคเพื่อทำให้ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงระบบขนส่งมวลชน รวมทั้งโซลูชันการเดินทางในเมืองที่เพิ่มขึ้น เช่น ยานยนต์ไฟฟ้า ยานยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมติ และเครือข่ายการขี่จักรยาน
นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้จัดสรรเงินจำนวน 150 ล้านดอลลาร์ไว้สำหรับโปรแกรมการวิจัยและพัฒนา (R&D) ของ Cities of Tomorrow โปรแกรมนี้ซึ่งได้รับการเปิดตัวในปี 2018 ได้กำหนดหัวข้อการวิจัยที่สำคัญเพื่อสร้างเมืองแห่งอนาคต เช่น การก่อสร้างขั้นสูง (การผลิตแบบเพิ่มเนื้อวัสดุ, การพิมพ์แบบ 3 มิติสำหรับอาคารสิ่งก่อสร้าง) โครงสร้างพื้นฐานที่ยืดหยุ่น และการส่งเสริมความยั่งยืน (วิธีที่อาคารและพื้นที่ส่งผลกระทบต่อมนุษย์)
ด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่มีจำกัด ทำให้สิงคโปร์ต้องคิดหาโซลูชันที่มีนวัตกรรมในด้านการจัดการพลังงานและน้ำ
แม้ว่าสิงคโปร์จะพัฒนาอย่างต่อเนื่องให้เป็นเมืองที่ก้าวล้ำที่สุดแห่งหนึ่งในโลก แต่เราก็สนใจที่จะพยายามลดคาร์บอนฟุตพรินท์ลง
ปัจจุบัน 95% ของไฟฟ้าทั้งหมดของเรานั้นมาจากการใช้ก๊าซธรรมชาติ ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงฟอสซิลที่สะอาดที่สุด ขณะเดียวกัน เรายังคงมีส่วนร่วมอย่างจริงจังในการค้นคว้าวิจัยและพัฒนาวิธีการสร้างพลังงานไฟฟ้าทางเลือกและพลังงานไฟฟ้าที่ยั่งยืนมากขึ้น เช่น พลังงานแสงอาทิตย์, เทคโนโลยีการดักจับ การใช้ประโยชน์ และการกักเก็บคาร์บอน (CCUS) และเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน
ตัวอย่างของการดำเนินการด้านพลังงานสะอาดของเรา สามารถเห็นได้จากโครงการนำร่องของเราเพื่อเปลี่ยนเกาะรีสอร์ท Sentosa (เซ็นโตซ่า) ให้เป็นเกาะที่ปราศจากการปลดปล่อยคาร์บอนภายในปี 2030 ในบรรดาโซลูชันที่จะนำมาดำเนินการนั้น ได้แก่ โครงสร้างพื้นฐานอัจฉริยะที่สามารถตรวจหาและวิเคราะห์รูปแบบการใช้พลังงานได้
การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของแนวโน้มทั่วโลกที่ผู้บริโภคให้การสนับสนุนอย่างจริงจังและมองหาตัวเลือกที่ช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และเป็นสิ่งที่บรรดาตัวแทนและผู้เข้าชมงานแสดงสินค้าทุกคนที่มาเยือนสิงคโปร์สามารถสัมผัสได้ เมื่อพวกเขาได้ลองใช้ระบบขนส่งสาธารณะที่มีมาตรฐานระดับโลกของเราเพื่อไปยังสถานที่จัดงานเนื่องจากสิงคโปร์ไม่มีชั้นหินอุ้มน้ำตามธรรมชาติหรือทะเลสาบ และมีผืนดินจำกัดในการกักเก็บน้ำฝนเอาไว้ ดังนั้นเราจึงต้องให้ความสำคัญสูงสุดในเรื่องการอนุรักษ์น้ำและความสามารถปรับตัวในเรื่องนี้ ปัจจุบัน สิงคโปร์ได้รับการยอมรับในระดับสากลว่าเป็นเมืองต้นแบบด้านการจัดการน้ำแบบครบวงจรและเป็น Global Hydrohub เกิดใหม่ นั่นคือการเป็นศูนย์กลางชั้นนำที่มอบโอกาสทางธุรกจและความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการจัดการน้ำ
เพื่อตอบสนองความต้องการจัดหาน้ำของเรา เราจึงต้องพึ่งพาแหล่งที่มาต่างๆ รวมถึงการเก็บกักน้ำในประเทศ (สองในสามของผิวดินของเรา) การนำเข้าทรัพยากรน้ำ การผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเล และการปรับปรุงคุณภาพน้ำ
ในขณะที่สิงคโปร์พัฒนาตนเองให้ก้าวขึ้นเป็นหนึ่งในเมืองที่มีการเชื่อมต่อกันสูงสุดในโลก เราก็ตระหนักถึงความจำเป็นของระเบียบการการรักษาความปลอดภัยที่มีการอัปเดตเพื่อรับมือกับภูมิทัศน์ดิจิทัลแบบใหม่และพรมแดนที่เปิดกว้าง
ภายในพรมแดนของเรา สิงคโปร์กำลังขยายการใช้กล้องและเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อสนับสนุนหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายและผู้ปฏิบัติงานฉุกเฉินให้ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้ รวมถึงการใช้เซ็นเซอร์ การวิเคราะห์วิดีโอ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ระบบอัตโนมัติ และโดรนเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานและปรับปรุงความปลอดภัยภายในชุมชน
ด้วยความตระหนักถึงภัยคุกคามด้านการก่อการร้ายที่เพิ่มขึ้น ทำให้สิงคโปร์ใช้แนวทางแบบหลายหน่วยงานซึ่งเกี่ยวข้องกับความร่วมมือระหว่างหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายกับองค์กรรักษาความปลอดภัย ทั้งในสิงคโปร์และต่างประเทศ และด้วยการนำแอป SGSecure มาใช้ ทำให้เราสามารถมอบอำนาจให้แก่พลเมืองทั่วไปเพื่อการต่อต้านการก่อการร้ายด้วยการรายงานการกระทำที่น่าสงสัยต่อหน่วยงานทางการ
ในยุคอินเทอร์เน็ตเช่นในปัจจุบัน การก่ออาชญากรรมได้พัฒนาไปสู่รูปแบบและขอบเขตใหม่ๆ ตัวอย่างเช่น จากการลักขโมยในอดีต ขณะนี้เรากำลังเผชิญกับภัยคุกคามจากการโจรกรรมทรัพย์สินทางปัญญา (IP) เพื่อรับมือกับภัยคุกคามเหล่านี้ เราได้คิดค้นโปรแกรมและแอปต่างๆ เช่น SG IP Fast Track และ IPOS Go ซึ่งช่วยให้องค์กรต่างๆ สามารถปกป้องสิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า และการออกแบบที่จดทะเบียนของตนได้อย่างง่ายดาย
อีกส่วนหนึ่งของการรักษาความมั่นคงของมาตุภูมิที่เมื่อเร็วๆ นี้ได้รับความสนใจอย่างมากก็คือ การควบคุมโรคระบาดใหญ่ จากตัวอย่างของโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (โรคซาร์ส หรือ SARS) และโควิด-19 สิงคโปร์ได้แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการรับมือสถานการณ์ได้เป็นอย่างดี โดยการปรับใช้เทคโนโลยีได้อย่างรวดเร็ว เช่น ระบบติดตามและการตรวจติดตามอุณหภูมิ รวมทั้งการใช้ประโยชน์จาก IP เพื่อจัดทำผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่ต้องการมาก เช่น ชุดเครื่องมือตรวจ และวัสดุเคลือบเพื่อฆ่าเชื้อ
อันที่จริง ความเร็วของการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงของภัยคุกคามใหม่ๆ กำลังเรียกร้องให้เราเร่งดำเนินการเชิงรุกให้มากขึ้นแทนที่จะเป็นในเชิงรับ และแน่นอนว่านี่คือสิ่งที่สิงคโปร์สามารถมีส่วนร่วมได้เป็นอย่างดี โดยการจัดเวทีการสนทนาและงานกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของมาตุภูมิ
สิงคโปร์ได้เป็นเจ้าภาพจัดงานกิจกรรมทางธุรกิจในเรื่องการพัฒนาเมือง (Urban Solutions) ขึ้นหลายครั้ง และทำให้เรามีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ที่จำเป็นเพื่อสนับสนุนการจัดงานกิจกรรมด้านนี้
แพลตฟอร์มการสร้างเครือข่ายระดับโลกสำหรับผู้นำทางความคิด เจ้าหน้าที่ระดับอาวุโสและผู้กำหนดนโยบายของรัฐ หน่วยงานกำกับดูแล และผู้นำในอุตสาหกรรม ในงาน CESS บรรดาผู้นำอุตสาหกรรมและผู้นำภาครัฐสามารถระบุ พัฒนา และแบ่งปันโซลูชันที่นำไปปฏิบัติได้จริง สามารถทำซ้ำ และปรับขนาดได้เพื่อรับมือกับความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมในบริบทของความสัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ออกระหว่างขยะ น้ำ และพลังงาน (Waste-water-energy Nexus) ในเมืองใหญ่ที่มีการเติบโต
การประชุมสัมมนาและงานแสดงสินค้าที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อแสดงถึงนวัตกรรมล่าสุดด้านความยั่งยืน เทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้าง การจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกแบบอัจฉริยะ และการปรับให้เป็นระบบดิจิทัล งานกิจกรรมที่ครอบคลุมมากที่สุดในเอเชียแปซิฟิกในหัวข้อสิ่งแวดล้อมสร้างสรรค์ที่ดึงดูดชุมชนทั่วโลกที่กำลังมองหาการแบ่งปันความรู้ การแลกเปลี่ยนแนวความคิด และสำรวจโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ
งานกิจกรรมระดับสากลชั้นนำของภูมิภาคด้านการรักษาความมั่นคงของมาตุภูมิ งานกิจกรรมที่ดึงดูดผู้เข้าร่วมจำนวนมากกว่า 7,000 คน, ตัวแทน 300 คน และผู้จัดแสดงงานนิทรรศการ 301 คนที่มาจาก 79 ประเทศ
เวทีระดับพรีเมียร์ของเอเชียในการพูดคุยหารือกันเกี่ยวกับประเด็นด้านพลังงานที่ส่งผลกระทบต่อภูมิภาค ในงานนี้ บรรดาผู้เชี่ยวชาญ ผู้กำหนดนโยบาย และผู้แสดงความคิดเห็นด้านพลังงานจะมารวมตัวกันเพื่อแบ่งปันวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุดและโซลูชันต่างๆ ภายในปริมณฑลของพลังงานทั่วโลก
เวทีที่สำคัญของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากนานาประเทศในด้านระบบการเดินทางในเมือง เพื่อกำหนดภูมิทัศน์ด้านการเดินทางในเมืองแห่งอนาคต ในการจัดงานสามครั้งล่าสุด มีผู้นำทางความคิดด้านการเดินทางในเมืองกว่า 10,000 คนจากทั่วโลกได้มาร่วมงานเพื่อสร้างเครือข่าย แลกเปลี่ยนแนวความคิด และทำงานร่วมกัน งานกิจกรรมยังรวมไปถึงการเยี่ยมชมไซต์เฉพาะแบบเอ็กซ์คลูซีฟที่บรรดาตัวแทนสามารถเข้าถึงได้
เวทีระดับโลกเพื่อการแบ่งปันและการทำงานร่วมกันเกี่ยวกับโซลูชันการจัดการน้ำที่มีนวัตกรรมเพื่อรับมือกับความท้าทายในปัจจุบัน งานกิจกรรมนี้จะรวบรวมบรรดาผู้นำและผู้ปฏิบัติงานด้านการจัดการน้ำในทั่วโลกจากทั้งภาคสาธารณะและภาคเอกชน เพื่อมีส่วนร่วมในการพูดคุยแลกเปลี่ยนและการถกเถียงกัน การสร้างเครือข่ายกับบรรดาผู้มีบทบาทในอุตสาหกรรมที่สำคัญ การแสดงเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำและวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุด และชี้ถึงหลักวิธีที่เหมาะจะนำไปปฏิบัติเพื่อรับมือกับปัญหาน้ำที่สร้างแรงกดดันในทั่วโลก
เวทีแบบเอ็กซ์คลูซีฟสำหรับผู้นำภาครัฐและผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมเพื่อรับมือกับความท้าทายของเมืองที่น่าอยู่และมีความยั่งยืน การแบ่งปันโซลูชันเมืองแบบครบวงจร และการสร้างพันธมิตรใหม่ๆ งานกิจกรรมที่จัดขึ้นทุกสองปี โดยเริ่มมาตั้งแต่ปี 2008 นี้ มีตัวแทนจากเมืองใหญ่ต่างๆ เข้าร่วมถึง 250 เมืองทั่วโลก และได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล ธุรกิจ องค์กรนานาชาติ และแวดวงวิชาการ