เป็นหนึ่งใน
สภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมธุรกิจของเรา สภาพแวดล้อมด้านกฎข้อบังคับที่มีประสิทธิผล โครงสร้างพื้นฐานที่ดีเยี่ยม และแหล่งรวมผู้ประกอบวิชาชีพด้านการเงินที่มีทักษะและประสบการณ์สูง ซึ่งได้มีส่วนส่งเสริมสิงคโปร์ให้ก้าวขึ้นมาเป็นศูนย์การเงินและฟินเทค (Fintech) ระดับโลก
สถาบันการเงินและธุรกิจจำนวนมากต่างมาตั้งถิ่นฐานในสิงคโปร์ ซึ่งไม่ใช่เพียงเพราะว่าการทำธุรกิจในสิงคโปร์เป็นเรื่องสะดวกง่ายดายเท่านั้น แต่ยังเป็นเพราะสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจการเมืองที่มั่นคง นโยบายกฎหมายและภาษีที่เอื้อต่อการลงทุน ชื่อเสียงในเรื่องความซื่อสัตย์และกฎข้อบังคับที่เข้มงวดเพื่อต่อต้านการก่ออาชญากรรมและการฟอกเงินอีกด้วย
ปัจจัยเหล่านี้ทั้งหมดส่งผลให้ตลาดสิงคโปร์สดใสและเหมาะสำหรับการสร้างเครือข่ายทางการค้า ธุรกิจ และงานกิจกรรมทางธุรกิจ
สิงคโปร์มีชื่อเสียงเรื่องการเป็นศูนย์กลางทางการเงิน ซึ่งดึงดูดธนาคาร บริษัทบริหารสินทรัพย์ บริษัทประกัน ผู้ค้าสินค้าโภคภัณฑ์ และบริษัทที่เกี่ยวกับการเงินการคลัง ให้มายังประเทศของเรา
ในฐานะศูนย์กลางการเงิน เรามีบทบาทสำคัญในการเชื่อมโยงตลาดระดับโลกเข้ากับการพัฒนาที่กำลังเติบโตในเอเชีย ความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดของเรากับธนาคารเพื่อการพัฒนาแบบพหุภาคี ช่วยให้เราสามารถสนับสนุนการพัฒนาของภูมิภาคได้โดยทำหน้าที่เป็นเวทีสำหรับโครงการของบริษัทเอเชียและโครงการด้านโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เพื่อระดมเงินทุน ในขณะที่เครือข่ายนักลงทุนเอกชนที่แข็งแกร่งของเราก็ช่วยให้เราสามารถสร้างโอกาสการพัฒนาสินทรัพย์ได้
เพื่อปรับปรุงตำแหน่งของเราในฐานะศูนย์กลางการเงินระดับโลกชั้นนำในเอเชีย รัฐบาลสิงคโปร์จึงได้กำหนดแผนที่นำทางเพื่อปฏิรูปอุตสาหกรรมบริการทางการเงิน (Financial Services Industry Transformation Roadmap) ขึ้น ซึ่งระบุขั้นตอนในการพัฒนาทักษะ การสร้างนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง และการนำเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำมาใช้ โดยมีวิสัยทัศน์ว่าแผนการนี้จะช่วยให้อุตสาหกรรมนี้สามารถมีอัตราเติบโตถึงร้อยละ 4.3 ต่อปีในระยะกลาง และสามารถสร้างงานได้ถึง 3,000 ตำแหน่งในแต่ละปีภายในภาคธุรกิจการเงิน6
เนื่องจากกิจกรรมทางธุรกิจที่คึกคักและบุคลากรที่มีความสามารถจากภาคธุรกิจให้บริการทางการเงิน ทำให้สิงคโปร์มั่นใจที่จะเสนอตัวในการจัดงานกิจกรรมสำคัญด้านการเงินระดับสากลในหัวข้อต่างๆ ที่ครอบคลุม และการประชุมด้านการลงทุนทางธุรกิจในเอเชียในบรรยากาศที่เป็นส่วนตัว
จนถึงปัจจุบัน สิงคโปร์ได้รับการจัดอันดับให้เป็นศูนย์ฟินเทค (Fintech) หนึ่งในห้าแห่งชั้นนำระดับโลก โดยมีบริษัทมากกว่า 1,000 แห่งที่มาตั้งถิ่นฐานในสิงคโปร์ ในปี 2019 บริษัทเหล่านี้สามารถดึงดูดเงินลงทุนได้เป็นจำนวนถึง 1 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งนับว่าสูงเป็นประวัติการณ์
สิงคโปร์ ในฐานะศูนย์กลางทางการเงินอัจฉริยะ มีเป้าหมายหลักที่สำคัญข้อหนึ่ง นั่นคือ การส่งเสริมนวัตกรรมในภาคธุรกิจการเงิน และส่งเสริมการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและโอกาสในการเติบโต
เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมของนวัตกรรมนี้ รัฐบาลสิงคโปร์จึงได้ลงทุนเป็นเงินมากกว่า 250 ล้านดอลลาร์ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาเพื่อสนับสนุนการนำเทคโนโลยีมาใช้ ขีดความสามารถในการสร้างการเติบโตที่ผลักดันด้วยนวัตกรรม และการรักษาความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้บริษัทที่มีอยู่ในปัจจุบันมีความสามารถเพิ่มขึ้น รวมทั้งสร้างภาคอุตสาหกรรมใหม่ๆ อาทิ ธนาคารดิจิทัล ผู้ให้บริการจ่ายเงินผ่านอุปกรณ์มือถือ สกุลเงินดิจิทัล (คริปโตเคอร์เรนซี) บริษัทต่างๆ และบริษัทอินชัวร์เทค (Insurtech)
เพื่อการเติบโตอย่างต่อเนื่อง สิงคโปร์ยังได้จัดให้มีห้องปฏิบัติการนวัตกรรมที่เกี่ยวกับภาคธุรกิจการเงินจำนวนกว่า 40 แห่งจนถึงปัจจุบัน เทียบกับเมื่อ 5 ปีก่อนที่ไม่มีเลย ห้องปฏิบัติการเหล่านี้ได้ร่วมมือกันและริเริ่มโครงการเกือบ 500 โครงการ รวมทั้งสร้างงานใหม่ๆ ที่มีมูลค่าสูงขึ้น
ความมุ่งมั่นที่ต้องการพัฒนาตนเองในฐานะศูนย์กลางทางการเงินอัจฉริยะ ทำให้สิงคโปร์เป็นที่ที่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับหน่วยงานกำกับดูแล ผู้สร้างนวัตกรรม และผู้มีบทบาทสำคัญในอุตสาหกรรมนี้ ในการวางรากฐานและกำหนดอนาคตของระบบการเงินอัจฉริยะ
ด้วยการตระหนักถึงความเสี่ยงต่อภาคธุรกิจการเงินอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จึงได้มีการนำแผนปฏิบัติการทางการเงินเพื่อสิ่งแวดล้อม (Green Finance Action Plan) มาดำเนินการในปี 2019 เพื่อสนับสนุนสิงคโปร์ที่ยั่งยืน7 และส่งเสริมความพยายามของประเทศในการก้าวขึ้นเป็นศูนย์กลางทางการเงินที่ยั่งยืนในระดับภูมิภาคและระดับโลก8
ส่วนหนึ่งของแผนการนี้ ได้แก่ การพัฒนาตลาดตราสารหนี้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยปัจจุบันสิงคโปร์เป็นศูนย์กลางในการออกตราสารหนี้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 55 ของอาเซียนในช่วงปี 2016 ถึง 20199 ในปี 2021 รัฐบาลสิงคโปร์ยังได้ประกาศว่าจะออกตราสารหนี้เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมเป็นมูลค่าถึง 19 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์เพื่อจัดหาเงินทุนสำหรับโครงการโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะ รวมถึงโรงบำบัดน้ำเสียและบำบัดขยะแบบครบวงจรแห่งแรกของสิงคโปร์ที่ชื่อว่า Tuas Nexus
อีกวิธีหนึ่งที่สิงคโปร์กำลังดำเนินการพัฒนาภาคธุรกิจการเงินที่ยั่งยืนก็คือ โดยการส่งเสริมการนำมาตรฐานการสร้างความยั่งยืนมาใช้ในการรายงานของบริษัท ซึ่งรวมถึงการส่งเสริมการใช้แนวทางด้านสิงแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (ESG) ในขั้นตอนการตัดสินใจของบริษัทต่างๆ ในภาคธุรกิจการให้บริการทางการเงิน
ในปี 2016 ตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ (Singapore Exchange - SGX) ได้แนะนำวิธีการรายงานที่ส่งเสริมความยั่งยืนสำหรับบริษัทจดทะเบียนต่างๆ ทั้งนี้ SGX ในฐานะที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานของตลาดที่น่าเชื่อถือและเป็นผู้เล่นรายสำคัญในระบบนิเวศ (โดยให้ความสำคัญเรื่องการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ) ได้ดำเนินการเพื่อก้าวขึ้นเป็นศูนย์การเงินและการค้าชั้นนำที่มีการเปลี่ยนแปลงและส่งเสริมความยั่งยืน ทั้งนี้เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์และโซลูชันที่มีคุณภาพแบบครบวงจร
ในฐานะผู้นำทางความคิดและการปฏิบัติในเรื่องนี้ สิงคโปร์จะยังคงมีบทบาทสำคัญในการกำหนดอนาคตของระบบการเงินที่ส่งเสริมความยั่งยืน ทั้งในภูมิภาคและในขอบเขตที่กว้างขึ้น
สิงคโปร์ได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสัมมนาและงานนิทรรศการด้านบริการทางการเงินชั้นนำขึ้นหลายครั้ง จึงทำให้เรามีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ที่จำเป็นเพื่อสนับสนุนการจัดงานกิจกรรมของคุณ การเติบโตจากจุดแข็งในด้านต่างๆ ทำให้งานกิจกรรมระดับท้องถิ่นและระดับภูมิภาคในปัจจุบันได้ดึงดูดงานกิจกรรมระดับสากลขนาดใหญ่ เช่น InsureTech Connect Asia
เทศกาล FinTech ที่จัดขึ้นครั้งแรกในเอเชีย เพื่อป็นเวทีในการทำงานร่วมกันระหว่างสิงคโปร์กับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค คุณภาพของงานแสดงสินค้านี้คือเครื่องรับประกันผ่านโครงการริเริ่มของอุตสาหกรรม ที่กลายเป็นงานกิจกรรมที่โดดเด่น ซึ่งรวมถึงการเชื่อมโยงของระบบการจ่ายเงินระดับประเทศที่เกิดขึ้นครั้งแรกระหว่าง PayNow ของสิงคโปร์ กับ PromptPay ของไทย
Singapore Iron Ore Forum คืองานกิจกรรมหลักของ Singapore International Ferrous Week ที่เป็นงานกิจกรรมที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียสำหรับอุตสาหกรรมโลหะเหล็ก งานกิจกรรมนี้ดึงดูดผู้ผลิตเหล็กกล้าและผู้ใช้ปลายทางทั่วโลกจากภาคธุรกิจต่างๆ เช่น การก่อสร้าง ยานยนต์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภค ซึ่งได้มารวมตัวกันเพื่อพูดคุยหารือเกี่ยวกับปัญหาที่สร้างแรงกดดันต่ออุตสาหกรรมนี้ และแนวโน้มระดับโลกที่จะกำหนดอนาคตของธุรกิจสินแร่เหล็ก
งาน Singapore Blockchain Week ซึ่งจัดขึ้นโดย Blockchain Association of Singapore ร่วมกับ NexChange Group ถือเป็นงานกิจกรรมบล็อกเชนในระบบเสมือนที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย โดยมีรัฐบาลสิงคโปร์ให้การสนับสนุน ภายในงานมีสภาพแวดล้อมของระบบดิจิทัลที่มีเอกลักษณ์ และมีหน่วยงานต่างๆ ที่สำคัญมาเข้าร่วม ได้แก่ หน่วยงานกำกับดูแล ธุรกิจ และผู้นำอุตสาหกรรมเทคโนโลยี สถาบันการศึกษา และผู้สร้างนวัตกรรมจากทั่วโลก
นับเป็นงานกิจกรรมที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่จัดขึ้นในเอเชีย โดยมุ่งเน้นที่นวัตกรรมบริการด้านการชำระเงินและบริการทางการเงินเพื่อการพาณิชย์ที่เชื่อมต่อกันสำหรับธุรกิจสี่สาขาคือ อุปกรณ์เคลื่อนที่ ธุรกิจค้าปลีก บริการทางการตลาด ข้อมูล และเทคโนโลยี
1 https://www.longfinance.net/media/documents/GFCI_28_Full_Report_2020.09.25_v1.1.pdf
2 https://www.ssg.gov.sg/wsq/Industry-and-Occupational-Skills/financial-industry.html
3 https://openknowledge.worldbank.org/bitstream/handle/10986/32436/9781464814402.pdf
4 https://www.mas.gov.sg/development/financial-services-industry-transformation-roadmap
5 https://www.mas.gov.sg/development/why-singapore
6 https://www.mas.gov.sg/development/financial-services-industry-transformation-roadmap
7 https://www.mas.gov.sg/-/media/MAS/News/Media-Releases/2020/MAS-Green-Finance-Action-Plan.pdf
8 https://www.straitstimes.com/singapore/green-bonds-for-some-public-infrastructure-projects